วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

Kata Tugas

Kata Tugas (คำบุพบท)
คำบุพบทแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.Kata Hubung (คำเชื่อม)
2.Kata Praklausa (คำปรากฎหน้าคำอุทาน)
3.Kata  Prafrasa (คำปรากฎหน้าวลี)
                1.Kata Hubung (คำเชื่อม) ใช้สำหรับเชื่อมประโยคกับคำต่างๆจึงกลายเป็นประโยคซ้อนที่รู้จักกันว่าประโยครวม
                คำเชื่อมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1.1Kata Hubung Gabungan
1.2Kata Hubung Pancangan
1.3Kata Hubung Berpasangan
                1.1Kata Hubung Gabungan คือ คำที่รวม 2 ประโยคเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง
หรือ(atau) : Kamu boleh memilih baju ini atau baju itu.
                  (คุณสามารถเลือกเสื้อตัวนี้หรือเสื้อตัวนั้นได้)
และ(dan) :Nariah suka membaca surat khabar dan majalah.
                 (นารียะห์ชอบอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสาร)
ยกเว้น(kecuali): Semua ahli keluarga Farhan memakai cermin mata kecuali kakaknya.
                 (ทุกคนในครอบครัวของฟารฮันสวมแว่นตายกเว้นพี่สาวของเขา

                1.2 Kata Hubung Pancangan คือ คำที่เชื่อมต่อประโยคที่ไม่เหมือนกันกับประโยคหลักหรือประโยคสมบูรณ์
                 Kata Hubung Pancanganแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                1.2.1Pancangan Relatif  คำเชื่อมนี้เชื่อมด้วยประโยคแรกกับประโยคย่อยอื่นๆ
ตัวอย่าง
ที่ (yang): Lim memasukkan beberapa biji limau ke dalam bakul yang sempit itu.
                 (ลิมใส่เมล็ดมะนาวเข้าไปในตะกร้าเล็กๆ)
                1.2.2Pancangan Komplemen  คำเชื่อมนี้ทำหน้าที่เชื่อมประโยคที่เป็นส่วนเติมเต็มกับประโยคแรก
ตัวอย่าง
ไปยัง(untuk): Sungguh mustahil untuk dia menang dalam pertandingan itu.
                   (เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะชนะในการแข่งขันนั้น )
                1.2.3Pancangan Keterangan คำเชื่อมนี้ทำหน้าที่เชื่อมประโยคที่เป็นส่วนขยายจากประโยค
ตัวอย่าง
เพื่อให้/ดังนั้น(agar,supaya): Makanlah ubat ini agar kamu cepat sembuh.
                  (กินยาตัวนี้เพื่อให้คุณหายดีเร็วขึ้น)
แม้ว่า(biarpun): Biarpun dia kaya, saya tetap tidak meminta pertolongannya.
                 (แม้ว่าเขาจะรวยฉันจะไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากเขา)
              
                1.3Kata Hubung Berpasangan
ตัวอย่าง
ดี...ดี/ดี...หรือแม้กระทั่ง(baik…baik,baik…mahupun): Baik Suhaimi mahupun Suhaida,mereka sama –sama pandai dalam mata pelajarran Matematik.
                (ทั้งซูไฮมีก็ดี ซูไฮลาก็ดีพวกเขาทั้งสองฉลาดในรายวิชาคณิตศาสตร์)
               
                2.Kata Praklausa (คำปรากฎหน้าคำอุทาน)
                Kata Praklausa แบ่งออกเป็น 5 ชนิด
2.1Kata Seru(คำอุทาน) คือ คำที่ใช้ในการแสดงความรู้สึก เช่น เสียใจ สงสัย โกรธ เกลียด และผิดหวัง
ตัวอย่าง
โอ้ย(aduh): Aduh,sakitnya kepalaku!(โอ้ย! ฉันปวดหัวจัง)
2.2Kata Tanya(คำถาม) คือ คำที่ใช้ในประโยคคำถามเพื่อใช้ในการถาม บุคคล สิ่งของ สัตว์ เวลา สถานที่และอื่นๆ
ตัวอย่าง
เมื่อไร(bila): Kamu hendak ke sana bila? (คุณต้องการไปที่นั้นเมื่อไร?)
2.3Kata Perintah(คำสั่ง) คือ คำที่ระบุคำสั่ง ความต้องการ คำต้องห้าม คำเชิญหรือความช่วยเหลือ
-คำสั่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการกระทำหรือการตอบสนอง
ตัวอย่าง
อย่า(jangan): Jangan ambil buku itu.(อย่าเอาหนังสือเล่มนั้น)
อย่าได้(usah:) Usah bersedih hati.(อย่าได้เสียใจ)

2.4Kata Pembenar คือคำที่ใช้เพื่อยืนยันบางสิ่งบางอย่าง คำที่ใช้กันบ่อย ได้แก่ ใช่(ya)  ความจริง(benar)
และถูกต้อง(betul)
2.5Kata Pangkal Ayat คือ คำที่ปรากฏหน้าประโยคที่เป็นประโยคต่อเนื่อง โดยปกติจะใช้ในวรรณคดีมลายูดั้งเดิม
                3.Kata Prafrasa(คำปรากฎหน้าวลี)            
สามารถแบ่งออกเป็น 10 ชนิด
3.1Kata Bantu(คำช่วย) คือ คำที่ใช้เพื่อสร้างความหมายเพิ่มเติมในแง่ของเวลาและความหมายหลากหลาย
สามารถแบ่งออกเป็น 2ชนิด
                3.1.1 Kata Bantu Aspek ใช้เพื่อแสดงถึงความแตกต่างของเวลา
ตัวอย่าง
-อดีต
ได้(telah): Dia telah menghantarkan bukunya.(เขาได้ส่งหนังสือไปแล้ว)
-ปัจจุบัน
กำลัง(sedang): Saya sedang mendengarradio.(ฉันกำลังฟังวิทยุ)
-อนาคต
ยัง(belum): Abdullah belum makan lagi.(อับดุลเลาะยังไม่ได้กินอีก)
                3.1.2Kata Bantu Ragam
ตัวอย่าง
จะต้อง(mesti): Kita mesti bertolak pagi ini juga.(เราจะต้องออกเดินทางวันนี้)

3.2Kata Penguat ใช้เพื่อเสริมความหมายของคุณศัพท์
ตัวอย่าง
-เติมหน้า
เกินไป(terlalu): Kamus itu terlalu tebal.(พจนานุกรมเล่มนั้นหนาเกินไป)
-เติมหลัง
เหลือเกิน(sekali): Rumahnya jauh sekali.(บ้านของเขาไกลเหลือเกิน)
3.3Kata Penegas แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
                3.3.1Kata Penegas ที่แทรกกับคำ
ตัวอย่าง
-kah: Siapakah yang bermain tadi.(เมื่อสักครู่ใครเป็นคนเล่น)
                3.3.2Kata Penegas ที่แยกต่างหาก
ตัวอย่าง
Juga: Abangnya gemuk.Dia juga gemuk.(พี่ชายของเขาอ้วน เขาเองก็อ้วน)
3.4Kata Nafi(คำปฏิเสธ) เป็นคำปฏิเสธหรือการยกเลิกบางสิ่งบางอย่าง สามารถแบ่งออกเป็น 2ชนิด
ตัวอย่าง
                3.4.1ไม่ใช่(bukan) : Beliau bukan Cikgu Fazidah.(เขาไม่ใช่คุณครูฟาซีดะห์)
                3.4.2ไม่(tidak): Saya tidak akan memdatah lagi.(ฉันจะไม่เถียงอีก)

3.5Kata Pemeri เป็นคำบุพบทที่เชื่อมด้วยวลีsubjek และpredikat  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ตัวอย่าง
                3.5.1คือ(ialah): Agama rasmi negara kita ialah agama Islam.
                (ศาสนาประจำชาติของประเทศเราคือศาสนาอิสลาม)
                3.5.2adalah: Kasut yang dipakainya itu adalah daripada kulit.(รองเท้าที่เขาใส่นั้นมาจากหนัง)
3.6Kata Arah เป็นคำที่ปรากฏก่อนวลีคำนามและจะปรากฏหลังคำแทนคำนาม
ตัวอย่าง
บน(atar): Ibu meletakkan mangkuk itu di atas meja.(แม่วางชามนั้นบนโต๊ะ)
3.7Kata Bilangan คำที่อธิบายตัวเลขในวลีคำนาม สามารถแสดงจำนวนที่แน่นอนและจำนวนที่ไม่แน่นอน
ตัวอย่างคำ
                Tentu , tidak tentu , himpunan , pisahan , pecahan
3.8Kata Sendi Nama เป็นคำที่ใช้เพื่อเชื่อมวลีกับคำหรือวลีกับวลี
ตัวอย่างคำ
                Akan , dalam , demi , di , kepada
3.9Kata Peneka คำที่ยืนยันคำที่เชื่อมต่อกัน
ตัวอย่างคำ
                Sesungguhnya , nampaknya , bahawasanya , sebenarnya , sebetulnya , sememamhnya
3.10Kata Pembantu(คำช่วย)
ตัวอย่างคำ
                Jauhnya , seronoknya , kuatnya ,perginya

อ้างอิงhttp://sarifudinhasbullah.blogspot.com/p/kata-tugas-kata-hubung.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น